วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

สร้างปฏิทินกำหนดการใน joomla ด้วย Scheduler

        บทความนี้จะเสนอการสร้างปฏิทินกำหนดการ โดยใช้ Components ที่ชื่อว่า Scheduler ที่จะช่วยให้สามารถแจ้งกำหนดการต่างๆผ่านหน้าเว็บได้ สามารถดาวน์โหลด components ปฏิทินตัวนี้ได้ที่ 
http://www.dhtmlx.com/docs/download/joomla_com_scheduler.zip
  • หลังจากที่ติดตั้ง Components ปฏิทิน Scheduler เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ไปคลิกที่ Components แล้วเลือก Scheduler



  • ก็จะพบกับหน้าต่าง Settings 
         Sizes จะเป็นส่วนที่ปรับความกว้างและความสูง ปฏิทิน โดยในที่นี้ผมจะตั้งเป็น 600px และ 500px
         Modes จะการแสดงผลในลักษณะของการแสดงเป็น วัน สัปดาห์ หรือเดือน ฯลฯ
                    -Default mode เป็นการตั้งค่าให้แสดงค่าเริ่มต้นของ ปฏิทิน ตามค่าที่เลือก ในที่นี้จะเลือก                 
                    เป็น Month


  • ในส่วนของ Events administration ให้กดปุ่ม Add เพื่อสร้างกำหนดการใหม่
  • แก้ไข Star date ก็คือวันเริ่มกำหนดการ และส่วน End Date ก็คือวันสิ้นสุดกำหนดการ
  • สามารถดับเบิ้ลคลิกเพื่อแก้ไข ชื่อ event ตามที่ต้องการได้ ในที่นี้จะตั้งเป็น "สอบปลายภาค ภาคเรียนที่ 1"


  • จากน้้นกดปุ่ม Save and Close
          

  • เมื่อปรับแต่งการตั้งค่าเรียบร้อยแล้ว ให้มาสร้างเมนู โดยไปที่
 

  • เลือก Menu Item Type ให้เป็น Link to Scheduler page
  • และตั้ง Menu Title ตามต้องการ
 
  • เพียงเท่านี้ก็จะ ปฏิทินกำหนดการ มาแสดงบนหน้าเว็บ joomla ของเรา


วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

แสดงข่าวใน joomla ด้วย News Show Pro GK4

ในหัวข้อนี้ ก็มี module ที่ชื่อว่า News Show Pro GK4 ชึ่งเป็นโมดูลที่ใช้ในการแสดง บทความ ที่มีรูปลักษณ์สวยงาม ทำให้หน้าเว็บไซต์สามารถแสดงข่าว หรือบทความในเว็บไซต์ ดังตัวอย่างภาพข้างล่าง
โดยสามารถ  http://www.gavick.com/news-show-pro-gk4.html 

ลองมาดูวิธีการใช้งาน News Show Pro GK4 กันครับ
  • ไปที่ Extensions เลือก Module Manager



  • เลือกปุ่ม New
         
  • แล้วสร้าง module


  • ในส่วนนี้ ก็จะเป็นการตั้งค่าพื้นฐาน
Basic Settings
Module mode จะเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบ
Module width คือขนาดความกว้างของโมดูล
Vertical Scroller height ความสูงของโมดูล


 
DATA SOURCE
Categories เป็นการเลือกหมวดหมู่บทความที่จะแสดง 
ARTICLE LAYOUT
ในส่วน ก็จะขออธิบายแบบย่อๆ 
Text ก็จะเป็นรายละเอียด ของเนื้อหาในบทความของเรา
Text Position เป็นการปรับการวางตำแหน่งของตัวอักษร โดยค่าเริ่มต้น จัดอยู่ในตำแหน่งซ้าย
Text link เป็นการตั้ง ค่าให้หัวข้อของบนความลิงค์ไปยังรายละเอียดของบทความ
Text limit คือ ความยาวของเนื้อหาในบทความ โดยจะแยกความยาว เป็นคำ และ เป็น ตัวอักษร
หน้าตาที่ออกก็จะได้ดังนี้
หากต้องการ จะให้ไปแสดงในบทความหรือตารางเราก็ใช้วิธีการ load Module  ซึ่งจะมาอธิบายในหัวข้อต่อไป





วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

Art clock นาฬิกา สำหรับ joomla 2.5

ได้เคยเขียนบทความเกี่ยวกับ module นาฬิกาใน joomla 1.5 มาแล้ว เวลาผ่านไป ถึงเวอร์ชั่น 2.5 แล้ว หลายคนคงมองหา นาฬิกาที่จะติดหน้าเว็บ ของ joomla 2.5 อาจจะได้นาฬิกาที่ถูกใจ หรือบางครั้งใช้แล้วมันไม่แสดงผลตามที่คิดไว้ ในหัวข้อนี้ผมจะนำเสนอ  Module นาฬิกาที่ชื่อว่า Art Clock ก่อนอื่นก็ให้ไปดาวน์โหลด Art Clock จาก --http://www.artetics.com/ARTools/art-clock

  • เมื่อติดตั้ง Art Clock เสร็จเรียบร้อยแล้ว มาเข้ามาสร้างโมดูล ให้แสดงบนหน้าเว็บไซต์
  • โดยไปที่ Extensions แล้วเลือก Module Manager



  • กดปุ่ม New เพื่อสร้าง Module - Art Clock 


  • จากนั้นเลือก ชนิดของ Module  Art Clock


  • ปรับแต่งในส่วนของ Details
- Title คือ ชื่อของ Module ที่ต้องการให้แสดง
- Show Title เป็นการกำหนดให้แสดง ชื่อ ที่ตั้งไว้หรือไม่
- Position ก็คือตำแหน่งในการว่าง Module บนหน้าเว็บ ในที่นี้เลือกเป็นตำแหน่ง Position-7(ด้านซ้าย)
- Status เป็นกำหนดสิทธิในการเข้าถึง


ในส่วนของ Basic Option
ให้เลือก SKin ก็คือ รูปแบบของนาฬิกา ตามที่ต้องการ


กดปุ่ม Save เพื่อทำการบันทึก


และหน้าตาของ นาฬิการที่ได้ดังนี้ครับ

Art clock ยังสามารถแสดง เวลาได้หลายประเทศอีกด้วย สามารถปรับแต่ ในส่วน Basic Option ได้



วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

การใช้ phoca download

สำหรับผู้ที่ต้องการ จะนำไฟล์ต่างๆ อัฟโหลดขึ้นบนเว็บไชต์ joomla เพื่อให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์เข้ามา Download ไฟล์ต่างๆ ได้ และยังสามารถดูสถิติการ Downlad ได้ด้วย เราดูตาหน้าของ component ที่ชื่อว่า phoca download เมื่อเข้าสู่หน้า Admin ของ joomla ในที่นี้ ผมใช้ joomla เวอร์ชั่น 2.5

  • ก่อนอื่นก็มาที่ เมนู Components แล้วเลือก Phoca Download  



  • เมื่อเข้ามาใน component Phoca Download จะพบกับ หน้าจอ Phoca Download Control Panel




ก็จะประกอบด้วย
- Files เป็นเมนูที่ใช้จัดการไฟล์ที่อัฟโหลดขึ้นมา
- Categorise ใช้จัดการหมวดหมู่ของไฟล์
- Licenses ใช้สร้างลิขสิทธิ์ของไฟล์
- Statistics สถิติการดาวน์โหลด
-Users  จัดการผู้ใช้งาน
-File Rating ความนิยมในการดาวน์โหลดไฟล์
-Tags เป็นการติดป้ายกำกับให้กับไฟล์ เพื่อเป็นคีย์เวิร์ด ในการสืบค้น
-Layout เป็นจัดการรูปแบบ CSS การแสดงผลในหน้าเว็บไซต์
- info เป็นข้อมูลเวอร์ ของ phoca download

  • ในส่วนนี้ก็จะขอแนะนำการ upload ไฟล์โดยใช้ phoca download 
  • ก่อนอื่นให้สร้าง Category ขึ้นมาเพื่อจัดหมวดหมู่ไฟล์ โดยเลือกเมนู Categorise ที่กล่าวไปเบื้องต้น
จากนั้นกดปุ่ม New เพื่อสร้าง Category ใหม่
  • เราจะพบกลับหน้าต่าง New Category 
       - ในส่วนนี้มี่ Option ให้เลือกอยู่มากมาย
         - Title คือชื่อ Category
         - Alias ก็จะเป็นลักษณะของการกำหนดคำสำคัญให้กับ Category
         - Parent Category ใช้ในกรณีที่ต้องการสร้าง Category ย่อยๆ ซ้อนทับ Category ใหญ่
         - Ordering เป็นการเรียงลำดับของ Category
         - Access Rights คือความสามารถในการเข้าถึงไฟล์
         - Upload Rights คือสิทธิ์ในการอัฟโหลดไฟล์
         - Delete Rights คือสิทธิ์ในการลบไฟล์

  • เมื่อปรับแต่งรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว ก็กดปุ่ม Save 
  • และก็จะมาถึงขึ้นตอนการอัพโหลดไฟล์ขึ้นสู่เว็บไซต์ของเราแล้ว โดยให้ไปที่ เมนู File


  • จากนั้นก็กดปุ่ม New เพื่อสร้างชื่อไฟล์และเลือกหมวดหมู่ ให้กับไฟล์
   
  • ในส่วนนี้ก็จะขออธิบายแบบย่อๆ สำหรับการอัฟโหลดไฟล์
     - ในส่วน Title ให้ใส่ชื่อไฟล์ให้สอดคล้องกับไฟล์ที่จะอัฟโหลด
     -  Category ให้เลือกหมวดหมู่ที่ได้สร้างไว้
     -  จากนั้นกดปุ่ม Select Filename เพื่ออัฟโหลดไฟล์
  • เมื่อกดปุ่ม Select Filename จากปรากฎหน้าต่างให้เราเลือกไฟล์
  • กดปุ่มเลือกไฟล์ แล้วเลือกไฟล์ตามที่ต้องการ แล้ว กดปุ่ม Start Upload
  • เลือกไฟล์ที่ได้อัพโหลดขึ้นมา แล้วกด Save 



หลังจากที่ได้มีการอัฟโหลดไฟล์ไว้เรียบร้อยแล้ว เราก็จะนำไปแสดงให้ผู้ใช้เว็บได้ Download ไฟล์
ไปที่ Menus เลือก Main Menu ->> Add New Menu item



  •  จากนั้นจะปรากฏ รายละเอียดของเมนูให้กรอก
  • โดยคลิกเลือกที่ปุ่ม Select 

  • ให้ดูในส่วน Phoca Download 


       - List Of Categories (Categories View)   แสดงรายชื่อของ Category
       -  List of Files (Category View)              แสดงรายชื่อไฟล์เฉพาะ Category ที่เลือก
       -  File View                                            แสดงไฟล์ ที่เลือก
       -  User Upload                                      เมนูสำหรับให้อัฟโหลดไฟล์

  • ในที่นี้เลือกชนิด ที่ 2 คือ  List of Files
  • และเลือก Category ที่สร้างไว้ข้างต้น
 
  • เมือเสร็จแล้วก็ทำการบันทึก โดยกดปุ่ม Save&Close
 
  • เมื่อเสร็จแล้ว ก็จะได้ผลดังภาพด้านล่าง






วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

จัดการไฟล์ ด้วย joomlaXplorer

joomlaXplorer เป็น Components ที่มีความสามารถในการจัดการไฟล์ใน host ของเราได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นการ upload การ chmod ก็สามารถทำได้
ดาวน์โหลด  joomlaXplorer ได้ที่   http://downloads.joomlacode.org/frsrelease/2/5/4/25460/com_joomlaxplorer_1.6.3.zip
  • ก่อนที่เราจะติดตั้ง joomlaXplorer ให้ไปเปิด ปลั๊กอิน System Legacy โดยไปที่ Extensions แล้วเลือก Plugin Manager

  • ทำการ Enable ปลั๊กอิน System Legacy

  • สังเกตดูจะเห็น Legacy 1.0 ปรากฎอยู่ก็สามารถติดตั้ง  joomlaXplorer ได้แล้ว


  • ขั้นตอนการติดตั้ง ผมจะขอข้ามไปเพราะไม่มีอะไรมากครับ
  • มาที่ Components เลือก joomlaXplorer


  • เรามาดูหน้าที่ ของ แต่ละ icon กันครับ
รูปที่ 1 ย้อนกลับไปยังโฟลเดอร์ที่อยู่ลำดับสูงกว่า
รูปที่ 2 กลับยังโฟลเดอร์นอกสุด
รูปที่ 3 โหลดข้อมูลไฟล์ และโฟลเดอร์ ขี้นมาใหม่
รูปที่ 4 ค้นหา
รูปที่ 5 ดูข้อมูล host
รูปที่ 6 คัดลอก ไฟล์ หรือโฟลเดอร์
รูปที่ 7 ย้าย ไฟล์ หรือโฟลเดอร์
รูปที่ 8 ลบ ไฟล์ หรือโฟลเดอร์
รูปที่ 9 ตั้งค่า  permissions (chmod)
รูปที่ 10 อัฟโหลด
รูปที่ 11 บีบอัดไฟล์

และนี่ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ  joomlaXplorer
ซึ่งจะช่วยให้เราจัดการไฟล์ได้ ทั่วถึงทุกโฟลเดอร์

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More